ผมได้นำเรื่องคุณสมบัติของผู้นิเทศที่ดีมาลงไว้ มีผู้ที่สงสัยสอบถามว่า ผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานควรเป็นแบบไหน? อาจารย์ท่านหนึ่งท่านเขียนว่า คนเรามักจะมีการประเมินเรื่องต่างๆในชีวิตประจำวันโดยไม่รู้ตัวนะครับ เช่น ท่านตื่นนอนขึ้นมาตอนเช้าหลายท่านจะเริ่มประเมินว่าวันนี้เมื่อเราไปถึงที่ทำงานจะถูกหัวหน้าตำหนิเรื่องที่ที่ทำผิดพลาดไว้เมื่อวานนี้หรือเปล่าหนอ?? หรือเมื่อถึงตอนกลางวันท่านจะเลือกร้านที่จะทานอาหารกลางวันท่านก็ต้องประเมินว่าร้านไหนอร่อยถูกปากมีอาหารที่น่ารับประทานมากกว่ากัน หรือแม้แต่เรื่องที่ใกล้ตัวท่านมากที่สุดก็ยังต้องมีการประเมินเลย เช่น ประเมินผู้คนรอบข้างเพื่อตัดสินใจว่าจะคบกับใครดี จะเชื่อคำพูดใคร
ในการทำงานก็เช่นเดียวกันทุกหน่วยงานย่อมจะต้องให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงาน ซึ่งส่วนมากเกือบทั้งหมดจะเป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบ“ทางเดียว” คือการให้หัวหน้างานประเมินผลงานลูกน้อง (หรือผู้ใต้บังคับบัญชา) ตรงจุดนี่แหละครับที่มักจะเกิดปัญหาขึ้นมา เพราะความไม่เข้าใจกันระหว่างผู้ประเมินกับผู้ถูกประเมิน ซึ่งหนึ่งในปัญหาหลักนั้นมักจะเกิดจากมุมมองที่แตกต่างกัน?!!?
ท่านลองมองดูภาพข้างบนนี้สิครับ บางท่านอาจจะเห็นเป็นภาพของคนแก่สองคนหันหน้าเข้าหากัน ในขณะที่อีกหลายคนอาจจะเห็นแตกต่างกันไปเป็นภาพของผู้ชายกำลังนั่งเล่นกีต้าร์ร้องเพลงจีบสาวที่อยู่ทางซ้ายมือ ซึ่งถ้าคนที่เห็นเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วมีความเชื่อมั่นอยู่อย่างนั้นโดยไม่ยอมรับฟังว่ายังมีมุมมองอีกมุมหนึ่ง (หรือหลาย ๆ มุมมอง) ในภาพ ๆ เดียวกันแล้วจะเกิดอะไรขึ้น?? แน่นอนครับ ความขัดแย้งย่อมเกิดขึ้นแน่นอน!! นี่แค่ตัวอย่างของมุมมองจากการประเมินภาพนิ่งเพียงภาพเดียวนะครับ แต่การประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นการประเมินผลจากภาพเคลื่อนไหว จากการปฏิบัติงานซึ่งไม่ได้นิ่งอยู่ตลอดเวลาเหมือนภาพตัวอย่างที่ผมให้ท่านดูข้างต้น หากผู้ประเมิน หรือผู้ถูกประเมินมีมุมมอง มีทัศนคติ มีความเชื่อ ฯลฯ ที่แตกต่างกันแล้วล่ะก็ การประเมินผลนั้นย่อมไม่ราบรื่นไปได้หรอกครับ มาถึงตรงนี้ผมจึงอยากให้ท่านทั้งที่เป็นผู้ประเมิน และผู้ถูกประเมินได้กระจ่างขึ้นในเรื่องนี้ผมจึงไปค้นหาวัตถุประสงค์ของการประเมินผลการปฏิบัติงานมาให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาครับ
ท่านลองมองดูภาพข้างบนนี้สิครับ บางท่านอาจจะเห็นเป็นภาพของคนแก่สองคนหันหน้าเข้าหากัน ในขณะที่อีกหลายคนอาจจะเห็นแตกต่างกันไปเป็นภาพของผู้ชายกำลังนั่งเล่นกีต้าร์ร้องเพลงจีบสาวที่อยู่ทางซ้ายมือ ซึ่งถ้าคนที่เห็นเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วมีความเชื่อมั่นอยู่อย่างนั้นโดยไม่ยอมรับฟังว่ายังมีมุมมองอีกมุมหนึ่ง (หรือหลาย ๆ มุมมอง) ในภาพ ๆ เดียวกันแล้วจะเกิดอะไรขึ้น?? แน่นอนครับ ความขัดแย้งย่อมเกิดขึ้นแน่นอน!! นี่แค่ตัวอย่างของมุมมองจากการประเมินภาพนิ่งเพียงภาพเดียวนะครับ แต่การประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นการประเมินผลจากภาพเคลื่อนไหว จากการปฏิบัติงานซึ่งไม่ได้นิ่งอยู่ตลอดเวลาเหมือนภาพตัวอย่างที่ผมให้ท่านดูข้างต้น หากผู้ประเมิน หรือผู้ถูกประเมินมีมุมมอง มีทัศนคติ มีความเชื่อ ฯลฯ ที่แตกต่างกันแล้วล่ะก็ การประเมินผลนั้นย่อมไม่ราบรื่นไปได้หรอกครับ มาถึงตรงนี้ผมจึงอยากให้ท่านทั้งที่เป็นผู้ประเมิน และผู้ถูกประเมินได้กระจ่างขึ้นในเรื่องนี้ผมจึงไปค้นหาวัตถุประสงค์ของการประเมินผลการปฏิบัติงานมาให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาครับ
วัตถุประสงค์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน
1. เพื่อให้โอกาสพนักงาน(ผู้ถูกประเมิน)ได้มีโอกาสพูดคุยหารือ ตลอดจนให้เหตุผลในเรื่องของการทำงานของตนเองว่าทำไม(หรือเหตุใด)ตนจึงต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานหรือตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ หรือหากทำไม่ได้เป็นเพราะอะไร กับผู้บังคับบัญชา(ผู้ประเมิน)เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนซึ่งกันและกัน
2. เพื่อเป็นเครื่องมือและเป็นแนวทางให้กับผู้บังคับบัญชาในการพิจารณาแยกแยะจุดเด่นและจุดอ่อนของลูกน้องของตนเองได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
3. เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บังคับบัญชาวางแผนและกำหนดโปรแกรมในการพัฒนาความรู้ความสามารถให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างรวดเร็วและดียิ่งขึ้น
4. เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาในเรื่องค่าตอบแทน และผลประโยชน์สำหรับพนักงาน
จากวัตถุประสงค์ของการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ผมนำมาข้างต้นคงจะทำให้ท่านเริ่มมองเห็นแล้วนะครับว่า หากผู้ประเมินได้เข้าใจวัตถุประสงค์ของการประเมินผลและปฏิบัติตนได้ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวแล้ว ก็เปรียบเสมือนกันได้อธิบายมุมมองของตนเองให้กับผู้ปฏิบัติงานได้ทราบและเข้าใจ ในขณะที่ก็จะเปิดโอกาสให้กับผู้ปฏิบัติงาน(ผู้ถูกประเมิน)ได้อธิบายและชี้แจงเหตุผลต่าง ๆ ซึ่งนี่จะเป็นการสื่อสารแบบสองทางที่จะช่วยให้ต่างฝ่ายต่างเข้าใจเหตุผลซึ่งกันและกันได้ดียิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้